วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Power calculation (การคำนวณค่าไฟ)






  

          จากการศึกษาการทำงานของภาษาซีทำให้นักเรียนได้ศึกษากระบวนการ การทำงานของภาษาซีในหัวข้อต่างๆ ซึ่งนำประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ เพื่อช่วยในการคำนวณค่าไฟฟ้าได้ง่ายสะดวก มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้ค่าที่ได้มีความแม่นยำถูกต้องตามรูปแบบชัดเจน ตรงตามเป้าหมาย สนองความต้องการได้อย่างดี ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้คิดการคำนวณค่าไฟ ซึ่งการคำนวณค่าไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดนั้น มีค่าที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ลำบากต่อการคำนวณ มีความเสี่ยงต่อการผิดพลาดได้ง่าย เพราะค่าเลขที่แท้จริงนั้นเป็นค่าที่ไม่ลงตัวมีทั้งทศนิยม เปอร์เซ็นต์ต่างๆมากมาย ซึ่งอาจทำให้มีความคลาดเคลื่อนสูง ส่วนของโปรแกรมจะมีการกำหนดค่าตัวเลขที่ชัดเจน และรับข้อมูลที่เป็นส่วนประกอบของการหาค่าไฟ จากนั้นโปรแกรมก็จะประมวลผลการทำงานออกมายังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ตามความต้องการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการคำนวณค่าไฟ




ตัวอย่างใบแจ้งค่าไฟฟ้า















เครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

          โปรแกรมภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป สามารถสร้างโปรแกรมได้หลายด้าน จากการที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาหลักการทำงานของโปรแกรม จึงพัฒนาและสร้างโปรแกรมการคำนวณทางคณิตศาสตร์ค่าไฟฟ้า นั้นคือสามารถคำนวณดูจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิดแต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง หลังจากนั้นก็นำมาคิดคำนวณ จะทราบว่าในแต่ละเดือนใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วย และเป็นเงินเท่าไร เพื่อเป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟ ช่วยเหลือครอบครัวและลดพลังงานซึ่งเป็นบ่อเกิดของไฟฟ้า โปรแกรมการคำนวณค่าไฟฟ้านี้มีหลักการทำงานตามหลักโปรแกรมภาษาซี ซึ่งโปรแกรมจะมีการรับค่าของข้อมูล และแสดงค่าข้อมูลตามความต้องการ ทำให้ได้ค่าที่แม่นยำ และประสิทธิภาพการทํางานที่เร็ว มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมสูง เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการประหยัดค่าไฟฟ้า









   
สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย
            




                                                                             

















 คำสั่ง if else if หรือ Nested if . 




มีโครงสร้าง else if เพิ่มเข้ามาในคำสั่ง else ทำให้ใช้คำสั่ง else if เพิ่มได้ตามที่ต้องการ ใช้กับการตัดสินใจที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก




 คำสั่งรับค่าและแสดงผล




  • มีฟังก์ชันชื่อว่า main( ) อย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน จึงจะสามารถทำการ execute program ได้ลักษณะของฟังก์ชัน main( ) จะต้องเป็นฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าไปยังฟังก์ชันอื่น หรือไม่มี argument นั่นเองและจะต้องไม่มีการส่งค่ากลับมายังชื่อฟังก์ชัน โดยเราสามารถใช้คำว่า void นำหน้าฟังก์ชัน ซึ่ง main( ) สามารถเขียนได้ดังนี้ void main(void)
  • ฟังก์ชัน printf() จะส่งค่าข้อมูลออกไปยังจอภาพ พร้อมทั้งส่งผลการทำงานกลับมา เนื่องจาก ฟังก์ชั่นในภาษาซี ไม่จำเป็นต้องมีตัวแปรมารับค่าผลในการทำงาน โดยทั่วไป เราจึงเห็นฟังก์ชันนี้อยู่ในรูปที่ไม่ต้องมีตัวแปรมารับค่า ซึ่งอยู่ในรูปของคำสั่ง(Statements) 
  • ฟังก์ชัน scanf() เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ (key board) เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร
  • ฟังก์ชัน getch ( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลเป็นตัวอักขระ 1 ตัวอักขระเข้ามาทางแป้นพิมพ์โดยเมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกดปุ่ม enter และข้อมูลที่ป้อนจะไม่ปรากฎบนหน้าจอภาพ


 ค่าคงที่  (constants)



          ค่าคงที่  คือตัวอักขระที่นำมาประกอบกันตั้งแต่  1  ตัวอักขระขึ้นไป  เพื่อบอกลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของข้อมูล  บางครั้งเราอาจเรียกค่าคงที่ว่า  “ข้อมูล”  (data)  ก็ได้

     ค่าคงที่พื้นฐานที่สำคัญที่ใช้ในโปรแกรมมีดังนี้


  • ค่าคงที่ชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม  (integer  constant)ค่าคงที่ชนิดนี้จะเป็นตัวเลขจำนวนเต็มซึ่งอาจมีเครื่องหมายบวกหรือลบก็ได้  เช่น  0, 9, 85, -698, 1832, -2080  เป็นต้น  โดยตัวเลขจำนวนเต็มที่จะสามารถเก็บได้ปรกติจะอยู่ในช่วง  -32768  ถึง  32767  เท่านั้น  บางครั้งเรานิยมเรียกค่าคงที่ชนิดนี้ว่าค่าคงที่  int  (integer)
  • ค่าคงที่ชนิดตัวเลขทศนิยม  (floating  point  constant)ค่าคงที่ชนิดนี้จะเป็นตัวเลขจำนวนทศนิยม  ซึ่งอาจจะมีเครื่องหมายบวก  หรือลบก็ได้  หรือเป็นตัวเลขที่สามารถเขียนอยู่ในรูป  E  ยกกำลังได้  เช่น  3.0,  0.234,  -0.54,  4E-06,  1.675E+10  เป็นต้น  โดยตัวเลขทศนิยมนี้จะสามารถเก็บได้ปรกติจะอยู่ในช่วง  1.2E-38  ถึง  3.4E+38  เท่านั้น สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  float  นี้จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  4  bytes  โดยที่  3  bytes  แรกจะเก็บค่าตัวเลขทศนิยม  ส่วนอีก  1  bytes  สุดท้ายจะเก็บค่ายกกำลังเอาไว้


 ตัวดำเนินการ



     ตัวดำเนินการที่ใช้ในโปรแกรมคือ

                     *    คูณ
                      /     หาร

                     <=  น้อยกว่าเท่ากับ











input


Power(watt): รับค่าพลังงานไฟฟ้า(watt)
Number of Electric appliance : รับค่าจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า
Hour of using in one day : รับค่าจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน






output


Power(watt): แสดงค่าพลังงานไฟฟ้า(watt)
Number of Electric appliance : แสดงค่าจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า
Hour of using in one day : แสดงค่าจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน
Unit in one day : แสดงค่าจำนวนยูนิตที่ใช้ใน 1 วัน
Eletric : แสดงค่าจำนวนเงินที่ใช้ไฟฟ้าใน 1 วัน






















































Input : รับค่าพลังงานไฟฟ้า(watt) ,จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า , เวลาที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าใน 1 วัน

Output : แสดงค่าพลังงานไฟฟ้า(watt),จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า , เวลาที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าใน 1 วัน,จำนวนยูนิตที่ใช้ใน 1 วัน,ค่าไฟฟ้าที่ใช้ใน 1 วัน






Download Now



















โปรเจคการคิดค่าไฟด้วยตัวเอง ทำให้สามารถวางแผนการใช้ไฟฟ้าในแต่วันได้ถูกต้อง




ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านค่าไฟฟ้า เนื่องจากสามารถคำนวณหาค่าไฟฟ้าในแต่ละวันได้




การรู้ค่าไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่ใช้รายวันทำให้ทราบถึงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสยไป ซึ่งทำให้ช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ และลดพลังงาน ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

















1. นางสาวกมลรส    จันทรัตน์   เลขที่ 1  ห้องม.401
- ทำให้ทราบถึงวิธีการนำโปรแกรมภาษาซีมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้อง
- ทำให้ทราบถึงองค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมภาษาcอย่างง่ายและเข้าใจถึงทักษะความชำนาญที่ต้องใช้ในการสร้างโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง Microsoft
- ทำให้รู้จักการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมทางอินเตอร์เน็ตเพื่อนำเสนอข้อมูล





2. นางสาวจารุวรรณ   ศรีแก้ว    เลขที่ 2  ห้องม.401


- ได้รู้จักการเขียนโปรแกรมภาษาซีมากขึ้นรู้จักการนำเสนองานในรูปแบบ Blogger มากขึ้น






3. นางสาวชนาภัทร   บุญเกลี้ยง  เลขที่ 3  ห้องม.401



- ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ ฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา และกระบวนการกลุ่ม





4. นางสาวชุติมณฑน์  สิริอินทร์   เลขที่ 4  ห้องม.401


- ฝึกการประยุกต์ใช้โปรแกรมภาษาซี สามารถใช้งานโปรแกรม/ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ







5. นายณัฐชนน       บุญสถิตย์  เลขที่ 19 ห้องม.401

 -  ฝึกการเขียนโค๊ดโปรแกรมและ ทบทวนความรู้ภาษาซี








6. นายธีระชัย       ภูมิเดช    เลขที่ 20 ห้องม.401

- ฝึกการตกแต่ง blog